ผู้รับการประเมิน
เว็บไซต์
ประกอบการประเมิน PA
E-Portfolio PERFOEMANCE AGREEMENT
นางสาวณัฏฐนิช เฉลิมกุล
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)๒
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
เว็บไซต์สำหรับเก็บผลงานประเมิน PA
นางสาวณัฏฐนิช เฉลิมกุล
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ปีการศึกษา 2567
ประวัติ
ผู้รับการประเมิน
ประวัติส่วนตัวผู้รับการประเมิน
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 17 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา ภาษาอังกฤษ จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา อังกฤษเพื่อชีวิต จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมชุมนุม Student Exchange จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย
ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการคือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ไขปัญหาทักษะการเขียนประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษ (Conditional sentence type1&2) โดยใช้วิธีการ Scramble sentence method
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับชั้นม.2พบว่านักเรียนบางส่วนมีปัญหาในการเขียนประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษ (Conditional sentence) คือนักเรียนไม่สามารถเขียนประโยคได้ถูกต้องตามลำดับของรูปแบบประโยคไวยากรณ์ได้ถูกต้อง และมีการวางคำในประโยคสลับตำแหน่งกัน ดังนั้นครูผู้สอนจึงสนใจจะแก้ปัญหาทักษะการเขียนประโยคภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการ Scramble sentence method เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกเขียนและพัฒนาการเขียนประโยคภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย
ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
2.วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 ศึกษาปัญหา แนวทางการแก้ไข รวมไปถึงแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักการที่เหมาะสมที่จะ
นำมาใช้แก้ไขปัญหา
2.2 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง
พุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษา ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัดของเนื้อหา
2.3 สร้างเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ Pre-test, Post-test และแผนการจัดการเรียนรู้ผ่าน Scramble Sentence Method จำนวน 1 แผนโดยนำเครื่องมือไปให้ครูผู้สอนร่วมวิชาเดียวกันและครูผู้นิเทศ ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมรับแนวทางแก้ไข และปรับปรุงต่อไป
2.4 ทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ผ่าน Scramble Sentence Method จำนวน 1 แผนไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2.6 ทดสอบหลังเรียนกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย
ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
ผู้เรียนร้อยละ 60 มีผลลัพท์ทางการเรียนรู้ระดับพอใช้ขึ้นไป
(60% ของคะแนนเต็ม)
3.2 เชิงคุณภาพ
เพื่อแก้ไขปัญหาการเขียนประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษของนักเรียนให้ถูก
ต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ด้านที่ 1
ด้านการจัดการ
เรียนรู้
::: ประกอบด้วย :::
4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
1.1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร
ข้าพเจ้าการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์ทั้งหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และจัดทำให้สอดคล้องกับหลักสูตรของสถานศึกษาและบริบทของโรงเรียน
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
1.2 - 1.3 การออกแบบการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย อยู่บนพื้นฐานของทักษะในศตวรรษที่ 21 (3R + 8C) และมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมถึงการเลือกใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และสอดคล้องกับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ การเรียนรู้แบบร่วมมือ / Collaborative learning group การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือโดยการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกันการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด / Think-Pair-Share เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างผู้เรียน 2 คนที่จับคู่กัน แล้วช่วยกันแบ่งปันความคิดในประเด็นปัญหา หลังจากที่ร่วมกันคิดเป็นคู่แล้ว จึงนำความรู้ที่ได้ไปเสนอให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนได้รับฟัง เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์วิจารณ์ผลร่วมกันทั้งชั้น การแสดงบทบาทสมมติ/ Role Play การจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมติขึ้น การระดมความคิด /Brainstorm เป็นการให้นักเรียนระดมความคิดภายในกลุ่มเพื่อได้ความคิดที่ดีที่สุด การอภิปราย เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในข้อคำถามหรือปัญหาเดียวกัน เพื่อให้เกิดข้อตกลงที่ดีที่สุด
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
1.4 การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
ข้าพจ้าจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการนำ Application
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ทั้งเรื่องการนำเข้าสู่บทเรียน การจัดการจัดเรียน การตอบคำถาม การทบทวนความรู้ในบทเรียน การระดมสมอง รวมถึงการประเมินผลภายในชั้นเรียนอย่างง่าย อาทิเช่น Vonder Go, Wordwall, Streamyard, Flipgrid, Padlet และ Google Apps for Education เป็นต้น
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
1.5 การวัดและประเมินผล
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ตามสภาพจริง สอดคล้องกับตัวชี้วัดและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ด้วยวิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะใช้เครื่องมือที่หลากหลายให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันต่อผู้เรียน นอกจากนั้นคือการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ทั้งเรื่อง กิจกรรมการเรียนรู้ ภาระงาน ชิ้นงาน และการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
1.6 ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
ข้าพเจ้าได้ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนศูนย์กลางและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยเน้นการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์และคุณภาพของผู้เรียน ดังนี้
ข้าพเจ้าได้นำข้อมูลการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ผลการวิจัยมาใช้ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Conditional sentences type 1& 2 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางด้านกายภาพและด้านจิตวิทยา ที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เน้นการสร้างบรรยากาศภายในชั้นเรียนแบบเป็นกันเองระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สร้างความอบอุ่น และสร้างความไว้วางใจกับผู้เรียน ครูผู้สอนเป็นเสมือนครูแนะแนว เน้นรับฟังและสนับสนุนผู้เรียนมากขึ้น
ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
การรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนรายบุคคลประจำวิชา เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการแก้ไข การพัฒนา และการส่งเสริมผู้เรียน โดยการรวบรวมและจัดเก็บจากระบบ Google apps for Education อาทิเช่น Google form และ Google sheet ตามความเหมาะสมของข้อมูล
ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
การดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน มีดำเนินการตามแนวทางของโรงเรียน คือ การโฮมรูมพบปะนักเรียนทุกเช้าวันจันทร์ของสัปดาห์ การเยี่ยมบ้านออนไลน์ การประชุมผู้ปกครองออนไลน์ การประเมิน SDQ และเสริมด้วยการประเมินภาวะเครียดสำหรับนักเรียน
จากนั้นนำข้อมูลต่างๆที่ได้ในแต่ละแหล่งมาวิเคราะห์ สังเคราะห์และดำเนินการแก้ไขหรือส่งเสริมตามความเหมาะสม นอกเหนือจากนี้คือการมีกลุ่มไลน์ผู้ปกครอง กลุ่มไลน์ประจำวิชา เพื่อติดต่อสื่อสาร แจ้งข่าวสาร เรื่องที่จำเป็น ระหว่างโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง
ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา
ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- งานหลักสูตรประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- งานแผนงานวิชาการประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- งานระดับวิชาการ ประจำระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- หัวหน้างานเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม (ครูผู้ช่วย)
กลุ่มบริหารงานบุคคล
ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ
ข้าพเจ้ามีกลุ่มไลน์ผู้ปกครอง และกลุ่มไลน์ประจำวิชา เพื่อติดต่อสื่อสาร แจ้งข่าวสาร เรื่องที่จำเป็น ระหว่างโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง โดยแจ้งให้ผู้ปกครองและนักเรียนทราบถึงปัญหา และร่วมหาทางแก้ไขซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขและพัฒนาผลลัพธ์ผู้เรียนให้ผ่านเกณฑ์ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การพัฒนาสมรรถนะของตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยการเข้าร่วมอบรม/ประชุม/สัมมนากับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในสาขาวิชาภาษาอังกฤษและการอบรมที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนทั้งแบบ Online และแบบปกติ อีกทั้งการพัฒนาสมรรถนะของตนเองตามกรอบ คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับครูไทยในศตวรรษที่21 (C-Teacher) โดยเน้นไปที่C-Computer (ICT) Integration พื่อก่อให้เกิดคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ในยุคออนไลน์มากที่สุดกับผู้เรียน
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) หรือเข้าร่วมการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับวิชาภาษาอังกฤษ ม.2 หรือสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาภายในวิชา และนำมาซึ่งการปรับ ประยุกต์ สื่อ นวัตกรรม เพื่อจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน หรือแก้ไขผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่มีผลการเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้
ข้าพเจ้านำผลจากการอบรมพัฒนาตนเองและการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ไปใช้สร้างสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค Scramble medthod เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน แก้ไขปัญหาของผู้เรียนที่ยังเขียนประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษไม่ถูกต้องตามลำดับตำแหน่งคำในประโยค
วิธีการดำเนินงานให้บรรลุผล
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
1
เชิงปริมาณ
2
เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนร้อยละ 100 มีผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ระดับพอใช้ขึ้นไป (คาดหวังไว้ ร้อยละ 60 สรุปผลคือผลลัพธ์สูงกว่าที่คาดหวัง)
ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ผ่าน Scramble Sentence Method วิชา ภาษาอังกฤษ เรื่อง Conditional sentence type 1 and 2 มีผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผู้เรียนมีความเข้าใจโครงสร้างประโยคเงื่อนไขและสามารถเขียนได้อย่างถูกต้อง
รายงานผลประเด็นท้าทาย
รายงานผลประเด็นท้าทาย
รวมภาพกิจกรรม
Introduction
and reviewing previous lesson
Content Delivery
Practice and Do scramble sentences
(Active Learning)
Present idea
review and summary
การแก้ไขปัญหาทักษะการเขียนประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษ (Conditional sentence type1&2) โดยใช้วิธีการ Scramble sentence method ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2